วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำยา





ประโยชน์ของน้ำยาล้างจาน
 
น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจาน เนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม

สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรแรก

เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทำน้ำยาล้างจาน
- กระป๋องพลาสติกมีฝาปิดความจุประมาณ 1 ลิตร 1 ใบ
- ตะกร้ามีรูใบเล็กขนาดใส่ในกระป๋องพลาสติกได้ 1 ใบ
- เครื่องชั่งน้ำหนักแบบมีจานรอง 1 เครื่อง
- ถ้วยตวงน้ำ 1 ใบ
- ช้อนสำหรับคน 1 คัน
- ผ้าขาวบางขนาด 15X15 นิ้ว 1 ผืน
- ช้อนตวง 1 ชุด

วัสดุทำน้ำยาล้างจาน- เนื้อสับปะรดสับ 300 กรัม
- น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี 2 ช.ต.
- หัวเชื้อ EM สด 2 CC.
- น้ำสะอาดไม่มีคลอรีน (น้ำประปาพักไว้ 1 คืน ก่อนนำมาใช้) 50 CC.
- ใบชา 1 หยิบมือ

วิธีทำน้ำยาล้างจานล้างกระป๋องและตะกร้าพลาสติกทิ้งไว้ให้แห้ง นำตะกร้าใส่ในกระป๋องพลาสติก
ชั่งเนื้อสับปะรดสับ 300 กรัม โดยวางถุงพลาสติกบนจานรองก่อน แล้วนำไปเทใส่ในตะกร้า
น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี น้ำสะอาด หัวเชื้อ EM สด และใบชา ชั่งและตวงตามสัดส่วนนำมาผสมเข้าด้วยกัน คนน้ำตาลจนละลายหมด เทลงในตะกร้าสับปะรด คนให้เข้ากันปิดฝาทิ้งไว้ 15 วัน (ในที่มีแสงน้อย ที่อุณหภูมิห้อง)
นำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้มากรองด้วยผ้าขาวบางกรอกใส่ขวดไว้ใช่ ส่วนกากนำไปผสมดินใช้ปลูกต้นไม้
น้ำยาล้างจานสูตรนี้ระยะแรกๆ สีจะขุ่นต่อมาจะตกตะกอน กลิ่นจะฉุนคล้ายไวน์มากขึ้นเรื่อยๆ และสีจะใสน่าใช้ยิ่งขึ้นด้วย

วิธีใช้น้ำยาล้างจานใช้ล้างจานโดยไม่ต้องผสมน้ำ ใช้เหมือนน้ำยาล้างจานทั่วไป ถ้าล้างจานจำนวนมากควรแช่จาน ในน้ำยาล้างจานผสมน้ำสัดส่วนน้ำยาล้างจาน 1 ส่วน น้ำ 5 ส่วนไว้ก่อน ประมาณ 20 นาทีก่อนล้างเพื่อให้สะอาดทั่วถึง แล้วล้างน้ำสะอาดจนกว่าแน่ใจว่าสะอาค ควรตากจานให้แห้งก่อนนำไปใช้ เพื่อป้องกันการตกค้างของจุลินทรีย์ในหยดน้ำที่เกาะอยู่บนจาน
เปลือกที่ปอกออกนำไปหมัก เป็นน้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ ทำปุ๋ยน้ำบำบัดกลิ่นและน้ำเสีย เพราะไม่มั่นใจว่าจะมีสารเคมี หรือปุ๋ยตกค้างอยู่หรือไม่จึงไม่ควรนำมาล้างจาน

น้ำยาล้างจานสูตรนี้ สามารถใช้เป็นน้ำยาล้างมือได้อย่างปลอดภัยทำให้มือนุ่ม ส่วนกากที่เหลือนำไปหมักใหม่ได้อีก โดยใช้สัดส่วนเหมือนเดิม หรือจะนำไปผสมดินปลูกต้นไม้ก็ได้

 


สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรสอง

วัสดุทำน้ำยาล้างจาน
1.N70หรือหัวเชื้อ   1 กิโลกรัม
2.F24หรือสารขจัดไขมัน  ครึ่งกิโลกรัม ถ้าไม่มีไม่ต้องก็ได้ครับ
3.เกลือ ประมาณ ครึ่งกิโลกรัม ถึง1กิโลกรัม หรือ บางที่เรียกว่าผงข้น
4.น้ำผลไม้รสเปรี้ยว (ที่โรงเรียนทำใช้มะกรูดต้มกับน้ำ)ประมาณ 4 ลิตร
5.น้ำสะอาด ประมาณ7 ลิตร อันนี้แล้วแต่ความข้นครับหากยังข้นก็เติมได้อีกแต่ถ้ามากไปก็ใช้ไม่ได้บางที่ใช้น้ำขี้เถ้าผสมด้วย แต่ไม่มีก้ไม่ต้องครับ

วิธีทำน้ำยาล้างจานเทN70กับF24ลงในภาชนะกวนไปในทิศทางเดียวกันให้เข้ากันจนเป็นครีมขาวๆจากนั้นเติมน้ำผลไม้ลงไปกวนไปเรื่อยๆหากไม่ข้นก็ค่อยๆเติมเกลือทีละน้อยสังเกตุดูหากข้นมากก็เติมน้ำลงไปสลับกันจนน้ำหมดทิ้งใว้ 1 คืนจนฟองยุบแล้วตักใส่ภาชนะใว้ใช้ ต้นทุนประมาณ 140 บาท ครับ ส่วนปริมาณที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้น้ำไปเท่าใด

อย่าคนแรงเพราะจะทำให้มีฟองเกิดมาก

N70คือสารลดแรงตึงผิวประจุลบ มีหน้าที่เป็นสารทำความสะอาดต่างๆมีชื่อเต็มๆว่าTexapon N70 มีชื่อทางเคมีว่า Sodium Laurylether Sulfate N70(โชเดียมลอริวอีเทอร์ซัลเฟตN70)มีชื่อย่อๆว่าSLES

ส่วนF24คือสารขจัดไขมันหรือLAS(linearalkylbenZene Sulfonate)

จะใช้น้ำมะกรูดหรือมะนาวหมักก็ได้ครับใส่ 4 ลิตร

*วิธีทำน้ำมะกรูดหรือมะนาวหมัก

หั่นมะกรูดหรือมะนาว 4 กิโลกรัม เป็นสองซีก ใส่น้ำตาล 1 กิโลครึ่ง น้ำ10 ลิตร หมัก 30วัน กรองเอาแต่น้ำมาใช้

สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรสาม

วัสดุส่วนผสมทำน้ำยาล้างจาน

1 WATER 300 กรัม
2 LA 40 19.84 กรัม
3 หัวแชมพู 67.46 กรัม
4 COMPERLAN KD 3.97 กรัม
5 SCPG 520      0.79 กรัม
6 PERFUME LEMON 0.40 กรัม
7 เกลือ  7.54 กรัม

วิธีทำน้ำยาล้างจาน
1. ละลาย LA 40 กับน้ำ คนจนละลายให้เข้ากัน   (ใช้ความร้อนได้เล็กน้อยเพื่อให้ละลายง่ายขึ้น)
2. เติมหัวแชมพู + COMPERLAN KD ลงไปคนให้เข้ากัน จนแน่ใจว่าเข้ากันดี
3. เติม SCPG 520  ลงไปคนให้เข้ากัน
4. เติมกลิ่นมะนาว ลงไปคนให้เข้ากัน
5. เติมเกลือที่ละลายด้วยน้ำร้อน คนให้เข้ากัน (จะหนืดขึ้น)    ก็จะได้น้ำยาล้างจานตามต้องการ

สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรสี่

วัสดุส่วนผสมทำน้ำยาล้างจาน
1  น้ำสะอาด  10 ลิตร    
2  โซฮาแลบ30  -  ลดคราบ 1.5  กก.
3  N-70 - ทำความสะอาด  1  กก.
4  เอ็มอี - ทำให้หนืด 160 กรัม
5  แอมโมเนียม คลอไรด์  - ผงข้น 100 กรัม
6 ผงกันบูด  15 กรัม
7  สี -เหลืองหรือเขียว ตามสมควร
8 กลิ่นมะนาว ตามสมควร 

วิธีทำน้ำยาล้างจาน           ผสมโซฮาแลบ30 และ แอมโมเนียมคลอไรด์ เข้าด้วยกัน  คนจนส่วนผสมเป็นสีขาว แล้วจึงเติมเอ็มอี
และ เอ็น70ลงไป  ค่อยๆเติมน้ำ กวนช้าๆไปจนเข้ากันดี แล้วเติมกลิ่นและสีดูความเข้มตามใจชอบ  ทิ้งไว้จนหมด
ฟอง(ประมาณ1-2 ชั่วโมง) จึงนำไปบรรจุขวดตามต้องการ

ไม้ไผ่




ไม้ไผ่กับวัฒนธรรม 

 คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใสใจดี รักศิลปะ เสียงเพลงและดนตรี มีนิสัยอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีมีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามโดยเฉพาะไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต คนไทยรู้จักคุ้นเคยและมีความผูกพันอย่างชนิดแยกไม่ออกมาตั้งแต่เกิดจนตาย กลายเป็นวัฒนธรรมสืบทอดกันต่อมา    "ไผ่" เป็นชื่อพันธุ์ไม้พวกหนึ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า ไผ่เป็นชื่อพรรณไม้พวกหนึ่ง ( Bambusa spp.) อยู่ในวงศ์ Graminese เป็นกอ ลำต้นสูง และเป็นปล้องๆ มีหลายชนิดมากกว่า ๑,๒๕๐ ขนิด ๕๐ ตระกูล เช่น ไผ่จีน ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ดำ เป็นต้น ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะที่แปลกไปจากพืชและพันธุ์ไม้อื่นๆ เพราะแม้ว่าไผ่มีลักษณะที่ควรจะเป็นต้นไม้ แต่ไผ่กลับถูกจัดเป็นหญ้าประเภทหนึ่ง และเป็น "หญ้ายักษ์" เพราะลำต้นสูง กลวงเป็นปล้องๆ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าใบไผ่คล้ายกับใบหญ้า ไผ่ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ เพราะหนึ่งในร้อยปีไผ่จึงอาจจะออกดอกสักครั้ง และหลังจากออกดอกแล้วก็ตาย ไผ่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและจะโตเต็มที่ภายในสองเดือน และจะคงขนาดเช่นนั้นไปตลอดชีวิตของมัน ลำต้นของไผ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๐.๗ - ๗ นิ้ว สูง ๑ - ๖๐ ฟุต ไผ่ขึ้นได้ทั้งในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นและอากาศเย็นต่ำกว่าศูนย์องศา ไผ่จึงเป็นไม้ที่มีมากในบริเวณเอเซียและแปซิฟิค อเมริกาใต้บางท้องถิ่น




ชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อพื้นบ้านของไผ่
ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้[1]
ไผ่ข้าวหลาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum pergracile )
ไผ่คายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa compressa)
ไผ่โจด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundinaria cililta)
ไผ่ซาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus strictus)
ไผ่ซางคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus latiflorus)
ไผ่ซางนวล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus membranaceus)
ไผ่ซางหม่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus sericeus )
ไผ่ตง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus aspe)
ไผ่ตากวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa kurzii)
ไผ่บง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa nutans)
ไผ่บงคาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa hosseusii)
ไผ่บงดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa tulda)
ไผ่บงป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispatha)
ไผ่บงหนาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa burmanica)
ไผ่ป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa bambos)
ไผ่เป๊าะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus giganteus)
ไผ่ผาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa densa)
ไผ่เพ็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vietnamosasa pusilla)
ไผ่รวก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys siamensis)
ไผ่รวกดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys oliveri)
ไผ่ไร่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa albociliata)
ไผ่ลำมะลอก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispiculatar)
ไผ่เลี้ยง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa mulfiplex)
ไผ่หวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa sp.)
ไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana)
ไผ่หก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii)
ไผ่หลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neohouzeaua mekongensis)
ไผ่หอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa polymorpha)
ไผ่เหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa vulgaris)
ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum virgatum)


ประโยชน์ของไม้ไผ่ 
ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
- เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
- เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
- เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
 กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
        ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
 คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก

คุณลักษณะพิเศษของ "ไผ่"
           ๑.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หนิอไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่ออาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย
           คังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ด้วย